4x4

ความรู้ที่เกี่ยวกับยางขั้นสูง

พูดเรื่องยางแบบวิศวกร

ยางสมรรถนะสูงสำหรับทุกฤดูกาล
ยางที่ให้การยึดเกาะสูงบนหิมะและน้ำแข็งโดยยังคงไว้ซึ่งสมรรถนะในการขับขี่บนถนนแห้ง

ยางสำหรับทุกฤดูกาล
ยางที่ให้ความสมดุลระหว่างการยึดเกาะในสายฝนหรือหิมะโดยดอกยางมีอายุที่ยาวนานและให้การขับขี่ที่
นุ่มนวลและเงียบ

สมรรถนะการยึดเกาะสำหรับทุกฤดูกาล
ความสามารถของยางในการสร้างสมดุลของ
การยึดเกาะในสภาพถนนเปียก ถนนแห้ง และ ในฤดูที่แตกต่างกัน

APS
สารประกอบยางสำหรับฤดูหนาวที่มีส่วนผสมของซิลิกาขั้นสูงซึ่งจะช่วยให้เกิดความยืดหยุ่นเมื่อพื้นผิวหน้ายางสัมผัสกับถนน

ARAMID
ผ้าใยสังเคราะห์ที่ใช้ในยางบางชนิดที่มีความแข็งแรงกว่าเหล็กกล้า (เมื่อเทียบต่อน้ำหนัก)

BEAD CHAFER
ส่วนประกอบที่สำคัญของยางซึ่งเป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างยางและล้อ โดยออกแบบมาให้สามารถทนต่อแรงที่กระทำขณะติดตั้งล้อเข้ากับยางรวมถึงแรงแบบไดนามิกของการขับขี่และการเบรก

BEAD FILLER
มีหน้าที่ในการถ่ายโอนแรงขับเคลื่อนและแรงบิดในการเบรกจากขอบล้อไปยังพื้นที่ผิวสัมผัสของถนน

BEAD TENSION STRUCTURE
ชั้นเส้นใยที่แก้มยางสองด้านที่ห่อหุ้มลวดที่ขอบในทิศทางตรงกันข้ามเพื่อให้ความมั่นคงที่ด้านข้างแต่ยังคงมีความยืดหยุ่นเพื่อดูดซับแรงกระแทกจากหลุมบนถนน

BELT
ชั้นของลวดที่เคลือบด้วยยางซึ่งอยู่ระหว่างชั้นบนตัวยางกับดอกยาง ลวดส่วนใหญ่ทำจากเหล็ก แต่ก็อาจทำจากไฟเบอร์กลาส เรยอน ไนลอน โพลีเอสเตอร์ หรือผ้าอื่น ๆ ได้

BIAS-PLY
ประเภทของยางรถที่มีชั้นเส้นลวดไขว้กันซึ่งเรียงตัวในแนวทแยงมุมไปจนถึงเส้นกลางของดอกยาง

BOLT CIRCLE
เส้นผ่านศูนย์กลางของวงกลมจินตภาพที่ลากผ่านจุดศูนย์กลางของรูน็อตแต่ละรูแล้ววัดจากสองรูที่อยู่ตรงข้ามกัน การวัดนี้จะใช้สำหรับการเลือกล้อที่เหมาะสมสำหรับการเปลี่ยน

BRAKING TORQUE
เทคนิคที่ฝึกฝนโดยนักแข่งแดรกและนักทดสอบถนนเพื่อปรับปรุงการเร่งความเร็วขณะออกจากเส้นสตาร์ท โดยทำการเบรกและการเร่งในเวลาเดียวกันเพื่อเพิ่มรอบเครื่องยนต์จนกว่าจะปล่อยเบรก

BREAKAWAY
คำที่ใช้อธิบายการสูญเสียแรงฉุดลากเมื่อเข้าโค้งหรือเมื่อเร่งความเร็วจากจุดเริ่มต้น ยางจะลื่นไถลกับพื้นถนนแทนที่จะจับพื้นผิวถนน

BUTYL RUBBER
ยางสังเคราะห์ที่ใช้สร้างยางในปัจจุบัน ซึ่งน้ำและอากาศแทบจะไม่สามารถผ่านได้

CAMBER
มุมเอียงเข้าหรือออกของล้อจากแนวตั้ง วัดเป็นองศา
มุมแคมเบอร์ถูกปรับเพื่อให้ยางด้านนอกอยู่ในแนวราบกับพื้นในระหว่างการเลี้ยว

CAMBER THRUST
แรงด้านข้างที่เกิดขึ้นเมื่อยางล้อหมุนด้วยมุมแคมเบอร์ ซึ่งสามารถเพิ่มหรือลดออกจากแรงด้านข้างที่ยางสร้างขึ้น

CARBON BLACK
คือสารเติมแต่งเพื่อเสริมความแข็งแรง ซึ่งเมื่อรวมเข้ากับสารประกอบยางจะทำให้มีความต้านทานต่อ
การสึกหรอสูง

CARCASS
โครงสร้างรองรับของยางซึ่งประกอบด้วยชั้นของลวดที่ยึดกับขอบด้านหนึ่งและเรียงตัวในแนวรัศมีไปยังอีกด้านหนึ่งและยึดเข้ากับขอบ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าโครงยาง

CARCASS PLY
ประกอบด้วยเส้นไฟเบอร์บาง ๆ ซึ่งติดอยู่กับยาง
สายเคเบิลเหล่านี้ส่วนใหญ่มีหน้าที่ในการกำหนดความแข็งแรงของยาง

CARRYING CAPACITY
น้ำหนักที่ยางแต่ละเส้นได้รับการออกแบบให้สามารถรับได้ที่แรงดันลมยางที่กำหนดไว้ ยางแต่ละขนาดจะมีตารางบอกความสามารถในการรับภาระตามแรงดันลมยาง เพื่อให้แน่ใจว่าแรงดันลมยางที่ใช้นั้นเพียงพอสำหรับการรับน้ำหนักลงเพลา

CASTER
มุมระหว่างเส้นที่ลากในแนวตั้งผ่านเส้นกึ่งกลางของล้อและแกนที่ล้อทำการเลี้ยว ซึ่งช่วยปรับปรุงความมั่นคงของทิศทางรถและความรู้สึกเข้าหาศูนย์กลาง

CENTERLINE
เส้นสมมุติซึ่งลงไปที่กึ่งกลางของรถ การติดตามการตั้งศูนย์ถูกวัดจากเส้นนี้

CENTRIFUGAL FORCE
การเร่งความเร็วไปด้านข้าง วัดเป็น g ของวัตถุในการเคลื่อนที่แบบโค้ง เมื่อรถเคลื่อนที่เป็นเส้นโค้ง
แรงเหวี่ยงจะกระทำกับรถและพยายามดึงออกมาด้านนอก เพื่อต้านทานแรงนี้ ยางจะสร้างแรงที่เท่ากันและเป็นไปในทิศทางตรงกันข้ามกับถนน เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าแรงด้านข้าง

CORD
กลุ่มของผ้าใบที่พันกันเพื่อสร้างเป็นชั้นของยาง เส้นเหล่านี้อาจทำมาจากโพลีเอสเตอร์ เรยอน ไนลอน
ไฟเบอร์กลาส หรือเหล็กกล้า

CORNERING FORCE
แรงที่เกิดขึ้นกับยางรถที่กำลังเลี้ยว นั่นคือความสามารถในการยึดเกาะและต้านทางแรงด้านข้างของยางซึ่งรักษาให้รถอยู่ในวงเลี้ยวที่ต้องการ

CROWN PLIES
ทำให้ฐานของดอกยางมีความมั่นคงซึ่งช่วยให้ประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิง ชั้นผ้าใบยังให้ความแข็งแกร่งในแนวแรงเหวี่ยงและแนวด้านข้างแก่ยางรถ และได้รับการออกแบบให้ยืดหยุ่นเพียงพอเพื่อการขับขี่ที่นุ่มนวล

CURB WEIGHT
น้ำหนักของรถที่ทำการผลิตซึ่งรวมถึงถังเก็บของเหลว (รวมถึงถังน้ำมันเชื้อเพลิง) ที่บรรจุเต็มและมีอุปกรณ์ตามปกติทั้งหมด แต่ไม่มีคนขับหรือผู้โดยสาร

DIRECTIONAL STABILITY
ความสามารถของรถที่สามารถขับขี่ได้อย่างปลอดภัยและด้วยความมั่นใจในแนวเส้นตรงและด้วยความเร็วสูงโดยไม่ได้รับผลกระทบจากความผิดปกติของถนน ลมด้านข้าง แรงยกจากอากาศพลศาสตร์ หรือปัจจัยที่มีอิทธิพลอื่น ๆ

DOG TRACKING
แทร็กคือความกว้างระหว่างขอบดอกยางด้านนอกของยางในเพลาเดียวกัน แทร็กกิ้ง หรือเรียกให้เฉพาะเจาะจงมากขึ้นว่า "ด็อกแทร็กกิ้ง" หมายถึงสภาวะที่ศูนย์ล้อไม่ถูกต้อง และล้อหลังไม่ได้วิ่งไปตามรอยล้อหน้าเมื่อรถเคลื่อนที่เป็นเส้นตรง เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าแทร็กกิ้ง

DRIFT
ดริ๊ฟท์หมายถึงรถที่เบี่ยงเบนออกจากทางเส้นตรงเมื่อไม่มีการหมุนพวงมาลัย เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าดึง

ECCENTRIC MOUNTING
การติดตั้งชุดล้อและยางในลักษณะที่ศูนย์กลางการหมุนของชุดประกอบไม่ตรงกับศูนย์กลางการหมุนของดุมล้อรถ

FILAMENT AT ZERO
เส้นใยเสริมความแข็งแรงที่ทำจากไนลอนหรืออะรามิด/ไนลอนแบบเดี่ยวหรือแบบหุ้มเป็นเกลียว ซึ่งสามารถวางได้อย่างแม่นยำในส่วนที่เฉพาะเจาะจงหรือทั่วบริเวณดอกยางบนสายพานเหล็กด้วยมุมศูนย์องศา โครงสร้างนี้ไม่เพียงช่วยรักษารูปร่างของยาง แต่ยังเพิ่มคุณภาพในการขับขี่และความแม่นยำในการบังคับเลี้ยวอีกด้วย

FORE-AND-AFT WEIGHT TRANSFER
การถ่ายเทน้ำหนักจากเพลาหน้าไปยังเพลาหลัง (หรือในทางกลับกัน) ที่เกิดจากการเร่งความเร็วหรือการเบรก การเร่งความเร็วจะทำให้เกิดการถ่ายเทน้ำหนักจากเพลาหน้าไปยังเพลาหลัง การเบรกจะทำให้เกิดการถ่ายเทน้ำหนักจากเพลาหลังไปยังเพลาหน้า

FOUR-WHEEL-DRIFT
คำศัพท์ที่ใช้อธิบายรถที่มีล้อหน้าและล้อหลังลื่นไถลไปในลักษณะที่ควบคุมได้ ผู้ขับขี่ใช้ทั้งคันเร่งและพวงมาลัยเพื่อควบคุมให้รถอยู่ในเส้นทางที่กำหนด

FREE RADIUS
รัศมีของชุดประกอบยาง/ล้อที่ไม่มีการเบี่ยงเบนภายใต้ภาระ

GROSS AXLE WEIGHT RATING (GAWR)
น้ำหนักสูงสุดที่สามารถกระจายได้ระหว่างยางบนเพลาที่กำหนด

GROSS VEHICLE WEIGHT (GVW)
น้ำหนักของรถและองค์ประกอบอื่น ๆ (ของเหลว 
ผู้โดยสาร และของที่บรรทุก)

GROSS VEHICLE WEIGHT RATING (GVWR)
น้ำหนักสูงสุดที่อนุญาตสำหรับรถและองค์ประกอบอื่น ๆ ค่านี้กำหนดขึ้นโดยผู้ผลิตรถและสามารถดูได้ที่ป้ายบริเวณประตูรถ

INDENTATION
สิ่งที่เกิดขึ้นตามปกติบนแก้มยางและมีความปลอดภัย ซึ่งเป็นรอยต่อที่ทับซ้อนกันของผ้าใบและทำให้เกิด
รอยเว้า สิ่งนี้ไม่สามารถเกิดขึ้นได้กับดอกยางเนื่องจากการฝังตัวของเส้นเหล็ก

INNER LINER
ชั้นในสุดของยางรถที่ไม่มียางใน ซึ่งมีส่วนประกอบของยางบิวทิลที่อากาศแทบจะไม่สามารถซึมผ่านได้ ซึ่งอากาศจะออกไปได้เมื่อเวลาผ่านไป ตรวจสอบ
แรงดันลมยางเป็นประจำทุกเดือนเพื่อให้แน่ใจว่ายางของคุณทำงานอย่างปลอดภัย

LATERAL WEIGHT TRANSFER
เมื่อรถเคลื่อนที่เข้าสู่ทางโค้ง จะมีการถ่ายเทน้ำหนักจากล้อด้านในของโค้งไปยังล้อที่อยู่ด้านนอกของโค้ง ซึ่งเป็นผลมาจากแรงเหวี่ยงหนีศูนย์หรือแรงด้านข้างที่กระทำกับรถ

LOADED RADIUS
คือการวัดในหน่วยนิ้วจากเส้นกึ่งกลางเพลาล้อไปถึงพื้นเมื่อยางได้รับการเติมลมอย่างเหมาะสมกับน้ำหนักบรรทุก

LOADED SECTION HEIGHT
ความสูงของส่วนของยางที่สัมผัสกับถนน

LOAD RANGE
คือการกำหนดช่วงการรับน้ำหนักสูงสุดที่ยางสามารถรับได้ที่ความดันที่กำหนดไว้

LUG-CENTRIC
ล้อที่ผลิตขึ้นเพื่อให้พอดีกับดุมหรือรูยึด Lug-centric คือการจับคู่รูยึดของล้อที่สร้างขึ้นโดยเฉพาะได้พอดีกับรูปแบบรูยึดของรถ

LUXURY PERFORMANCE TOURING TYRES
โดยทั่วไปจะออกแบบขึ้นสำหรับรถซีดานหรู ยางชนิดนี้เป็นการผสมผสานระหว่างสมรรถนะในควบคุมและการขับขี่ที่สบายและนุ่มนวล

OXIDATION
กระบวนการเกิดสนิมที่เกิดขึ้นในสายพานเหล็กเมื่อความชื้นสามารถเข้าไปในยางได้เนื่องจากความเสียหายของยาง ซึ่งอาจส่งผลให้ต้องเปลี่ยนยางก่อนเวลาที่ควรเปลี่ยนตามปกติ

ROLLING CIRCUMFERENCE
ระยะทางเชิงเส้นที่ยางเคลื่อนที่ได้ในหนึ่งรอบ (เส้นรอบวงของยาง) ซึ่งอาจแตกต่างกันไปตามภาระและการเติมลมยาง เส้นรอบวงในการหมุนสามารถคำนวณได้ดังนี้: 63,360 หารด้วยจำนวนรอบต่อไมล์ = เส้นรอบวงในการหมุน ซึ่งมีหน่วยเป็นนิ้ว

RUBBER COMPOUND
การรวมกันของวัตถุดิบซึ่งได้รับการผสมตามขั้นตอน
การผลิตอย่างระมัดระวัง สารประกอบยางนั้นถูกดัดแปลงเป็นพิเศษเพื่อให้มีสมรรถนะตามความต้องการของยางแต่ละประเภท

STEEL BELT
กลุ่มของเส้นลวดเหล็กที่หุ้มด้วยยางเป็นแถบหรือสายพานซึ่งวางอยู่ใต้ยางดอกยางและที่ด้านบนของโครงยาง (carcass) เพื่อให้มั่นใจในความสม่ำเสมอเมื่อยางหมุนและช่วยป้องกันไม่ให้ยางแบน

STEERING RESPONSE
ปฏิกิริยาของรถต่อการบังคับพวงมาลัยของผู้ขับขี่ ความรู้สึกที่ผู้ขับขี่ได้รับผ่านพวงมาลัยเมื่อพวกเขาทำการบังคับพวงมาลัย

SYNTHETIC RUBBER
ยางที่มนุษย์สร้างขึ้นซึ่งตรงข้ามกับยางธรรมชาติ
ยางรถเก๋งและรถปิคอัพส่วนใหญ่ในปัจจุบันใช้ยางธรรมชาติมาเป็นส่วนผสมในปริมาณที่ค่อนข้างน้อยมาก

TOE
ความแตกต่างของระยะห่างระหว่างด้านหน้าและ
​​​​​​​ด้านหลังของยางคู่ที่ติดตั้งอยู่บนเพลาเดียวกัน

TOE-IN
ด้านหน้าของยางสองเส้นที่อยู่บนเพลาเดียวกันนั้นอยู่ใกล้กันมากกว่าด้านหลังของยาง

TOE-OUT
ด้านหน้าของยางสองเส้นที่อยู่บนเพลาเดียวกันนั้นอยู่ห่างกันมากกว่าด้านหลังของยาง

TOE-OUT TURNS
หรือที่รู้จักในชื่อมุม Ackerman ล้อของรถที่อยู่ด้านในวงเลี้ยวจะวิ่งด้วยรัศมีที่เล็กกว่าล้อด้านนอกวงเลี้ยว เนื่องจากล้อหน้าทั้งสองเลี้ยวด้วยมุมที่ต่างกันในขณะเลี้ยว

TORQUE
ความพยายามในการหมุนหรือบิด โดยปกติวัดเป็นปอนด์-ฟุต หรือนิวตันเมตร

TORSION BAR
แท่งตรงยาวซึ่งปลายด้านหนึ่งยึดกับโครงรถ และอีกด้านหนึ่งยึดกับชิ้นส่วนของช่วงล่าง ทำหน้าที่เหมือนสปริงที่ไม่ได้เป็นขดซึ่งคอยดูดซับพลังงานโดยการบิด

UNDERTREAD
วัสดุระหว่างส่วนล่างของดอกยางและชั้นบนสุดของสายพานเหล็ก ทำหน้าที่เป็นเบาะที่ช่วยเพิ่มความนุ่มนวล

VARIABLE CONTACT PATCH
ระบบที่เพิ่มพื้นที่สัมผัสกับถนนให้สูงสุดระหว่างการเข้าโค้งผ่านการผสมผสานระหว่างลวดลายดอกยางแบบอสมมาตรและสายพานที่อยู่ข้างใต้

WHEELBASE
ระยะทางยาวจากศูนย์กลางของล้อหน้าไปยังศูนย์กลางของล้อหลังที่อยู่ด้านเดียวกันของรถ

คุณใช้เว็บเบราเซอร์ที่ไม่รองรับ
คุณใช้เว็บเบราเซอร์ที่ไม่รองรับการทำงานของเว็บไซต์นี้ ซึ่งหมายความว่าฟังก์ชันบางอย่างอาจไม่ทำงานตามที่ต้องการ และอาจส่งผลให้เกิดความผิดปกติขณะเรียกดูเว็บไซต์ อัพเกรด หรือ ติดตั้งเบราว์เซอร์ต่อไปนี้เพื่อให้สามารถใช้งานเว็บไซต์นี้ได้อย่างเต็มรูปแบบ