
BAR, PSI, และ kPa คืออะไร พร้อมตารางเทียบค่าแรงดันลมที่ช่วยให้เติมลมเอสยูวีและกระบะ 4x4 ได้ง่ายขึ้น
BAR, PSI, และ kPa คืออะไร พร้อมตารางเทียบค่าแรงดันลมที่ช่วยให้เติมลมเอสยูวีและกระบะ 4x4 ได้ง่ายขึ้น
เคยสงสัยไหมว่าป้ายระบุว่าค่าแรงดันลมยางที่รถกระบะหรือเอสยูวีขับเคลื่อนสี่ล้อ 4WD ที่มีหลากหลายค่า ตั้งแต่ BAR, PSI, และ kPa เหล่านี้มีรายละเอียดแตกต่างกันอย่างไร รวมถึงเป็นค่าแรงดันที่นิยมใช้กับอะไรเป็นหลัก โดยบทความนี้จะพาคุณไปทำความเข้าใจเรื่องที่เรากล่าวมาทั้งหมด พร้อมนำเสนอตารางเทียบแรงดันลมให้คุณได้ไปใช้ตอนกำลังเติมลมยางรถยนต์
ค่าแรงดัน BAR, PSI, และ kPa อะไร นิยมใช้ในเรื่องใดบ้าง
สำหรับคนไทยแล้วเราจะมักจะคุ้นเคยกับการเติมลมยางรถยนต์โดยดูค่าแรงดัน PSI เป็นค่าอ้างอิงหลัก แต่หากไปในต่างประเทศเราก็มักจะเห็นพวกเขาระบุค่าแรงดันเป็นทั้ง BAR, PSI, และ kPa แตกต่างกันไป ซึ่งหลายคนก็คงอยากรู้ว่าแล้วค่าแรงดันเหล่านี้มีที่มาที่ไป รวมถึงมีการนำไปใช้กับการวัดค่าแรงดันในเรื่องหรือกลุ่มอุตสาหกรรมไหนบ้าง
- BAR: เป็นหน่วยวัดความดันที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในยุโรป โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมน้ำมันและก๊าซ
- PSI (ปอนด์ต่อตารางนิ้ว): เป็นหน่วยวัดความดันที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในสหรัฐอเมริกา โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมยานยนต์และเครื่องจักรกล รวมถึงเป็นค่าแรงดันลมยางที่ผู้ใช้รถยนต์ชาวไทยคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี
- kPa (กิโลปาสคาล): เป็นหน่วยวัดความดันในระบบ SI ซึ่งเป็นระบบหน่วยวัดมาตรฐานสากล และใช้กันอย่างแพร่หลายในหลายประเทศ รวมถึงในประเทศไทย เช่นเดียวกัน
ตารางเปรียบเทียบแรงดัน BAR, PSI, และ kPa ที่ช่วยให้คุณเติมลมยางรถกระบะและรถ SUV 4x4 ได้อย่างเหมาะสม
เพื่อให้ผู้ใช้รถออฟโรด SUV 4WD หรือรถกระบะ 4x4 ยกสูงสามารถเติมลมยางรถยนต์ได้อย่างเหมาะสมและถูกต้อง เราจะพาคุณไปดูตารางเปรียบเทียบแรงดันที่แสดงให้เห็นว่าค่าแรงดันแต่ละประเภทต่างกันอย่างไรบ้าง
ค่าแรงดัน (PSI) | ค่าแรงดัน (Bar) | ค่าแรงดัน (kPa) |
26 | 1.79 | 180 |
27 | 1.86 | 186 |
28 | 1.93 | 193 |
29 | 2 | 200 |
30 | 2.07 | 207 |
31 | 2.14 | 214 |
32 | 2.21 | 221 |
33 | 2.28 | 228 |
34 | 2.35 | 235 |
35 | 2.41 | 241 |
36 | 2.48 | 248 |
37 | 2.55 | 255 |
38 | 2.62 | 262 |
39 | 2.69 | 269 |
40 | 2.76 | 276 |
41 | 2.83 | 283 |
42 | 2.9 | 290 |
43 | 2.97 | 297 |
44
| 3.04 | 304 |
45 | 3.1 | 310 |
46
| 3.17 | 317 |
47 | 3.24 | 324 |
48 | 3.31 | 331 |
49 | 3.38 | 338 |
50 | 3.45 | 345 |
วิธีการแปลงหน่วยแรงดันแบบง่ายๆ ที่คุณก็สามารถคิดเองได้
ค่าแรงดันลมยางที่เหมาะสมจะแตกต่างกันไปตามยี่ห้อและรุ่นของรถยนต์ ดังนั้น คุณจึงควรตรวจสอบค่าแรงดันลมยางที่ระบุไว้ในคู่มือรถยนต์ หรือที่สติกเกอร์ที่อยู่ติดกับประตูรถยนต์เสมอ และเราได้เตรียมวิธีคิดแปลงหน่วยแรงดันแบบง่ายๆ ที่ใครก็สามารถแปลงเองได้ไม่ยาก
- PSI ไป Bar ให้คุณหารค่าแรงดันด้วย 14.5
- PSI ไป kPa ให้คุณคูณค่าแรงดันด้วย 6.895
- Bar ไป PSI ให้คุณคูณค่าแรงดันด้วย 14.5
- Bar ไป kPa ให้คุณคูณค่าแรงดันด้วย 100
- kPa ไป PSI ให้คุณหารค่าแรงดันด้วย 6.895
- kPa ไป Bar ให้คุณหารค่าแรงดันด้วย 100

แรงดันลมยางมีผลอะไรต่ออายุการใช้งานยางรถออฟโรด รถกระบะ 4x4 และ SUV 4WD
หากคุณต้องการยืดอายุการใช้งานยางรถยนต์ ไม่ว่าจะเป็นยาง M/T, ยาง A/T, หรือยาง H/T ให้ดอกยางและโครงสร้างของยางสึกหรอช้าที่สุด เราแนะนำให้คุณใส่ใจในสองประเด็นต่อจากนี้
1. ความร้อน (เกิดจากยางมีการขยับตัวหรือการที่ยางรับน้ำหนักมากเกินไป) เป็นศัตรูสำคัญที่สุดของยาง
2. เพื่อหลีกเลี่ยงการสะสมความร้อนที่มากเกินไปอันเกิดมาจากยางขยับตัวขณะวิ่ง โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าแรงดันลมยางอยู่ในค่าที่เหมาะสมกับการใช้งานอย่างสม่ำเสมอ
โดยปกติแล้วคุณสามารถขับออฟโรดด้วยแรงดันลมยางเดียวกับที่ขับบนถนนปกติได้ อย่างไรก็ตาม ในสภาวะที่มีแรงฉุดลากต่ำ (เช่น ขับบนพื้นทราย) การลดแรงดันลมยางลงเพียงเล็กน้อยจะช่วยให้ได้การยึดเกาะที่ดีขึ้น และต้องลดแรงดันให้มีความเหมาะสมกับน้ำหนักบรรทุกในขณะนั้นด้วย
อีกเรื่องที่คุณควรรู้ไว้ก็คือการรับน้ำหนักของยาง ความเร็ว และแรงดันลมยางนั้นล้วนสัมพันธ์กันทั้งหมด หากคุณต้องการลดความดันลงในขณะที่ต้องการให้รถสามารถรับน้ำหนักบรรทุกได้ดี คุณจำเป็นต้องลดความเร็วลงไปด้วย เพราะการลดความดันลมยางโดยที่ไม่ได้ลดน้ำหนักบรรทุกหรือความเร็วลงจะทำให้เกิดความร้อนสะสมในยางมากเกินไป
ทั้งนี้ การขับรถในเส้นทางออฟโรดสามารถใช้แรงดันลมยางได้ต่ำกว่า 20psi แต่ต้องลดความเร็วลงเหลือไม่เกิน 25 กม./ชม. หรือน้อยกว่าเมื่อยางมีความสามารถในการบรรทุกเพียงพอ
แต่คุณควรท่องจำให้ขึ้นใจเสมอว่าต้องเติมลมยางรถให้กลับมาอยู่ในค่าแรงดันที่ถูกต้องทันทีเมื่อกลับไปขับบนถนนปกติ เนื่องจากการที่ไม่ได้เติมลมยางให้อยู่ภายในค่าแรงดันปกติเมื่อขับขี่บนทางหลวงจะส่งผลต่อการควบคุมรถที่แย่ลง และยังทำอันตรายต่อโครงสร้างทั้งหมดอีกต่างหาก หรืออาจถึงขั้นยางระเบิดจนเกิดอุบัติเหตุตามมา
คุณสามารถค่าแรงดันลมยางที่เหมาะสมกับยางรถยนต์ของคุณได้บนป้ายรถที่อยู่ด้านในประตูคนขับ และในคู่มือสำหรับเจ้าของรถ ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะระบุไว้ทั้ง PSI, BAR, หรือแม้แต่ kPa ในรถบางคัน ทั้งนี้ หากยางรถของคุณมีขนาดเท่ากันกับยางเดิมติดรถก็ให้เติมลมยางตามค่าแรงดันลมยางที่ระบุไว้บนป้ายได้เลย
มั่นใจและเลือกใช้ยาง BFGoodrich สำหรับรถกระบะและเอสยูวีออฟโรดของคุณ
นอกจากการเติมแรงดันลมยางที่เหมาะสมกับยางรถยนต์จะช่วยให้คุณขับขี่ได้ปลอดภัยแล้ว การเลือกใช้ยางสำหรับรถยนต์นั่ง รถครอสโอเวอร์ รวมไปถึงรถกระบะและเอสยูวี 4x4 ที่ออกแบบมาเป็นอย่างดี จะทำให้คุณสัมผัสประสบการณ์ในการขับขี่ทั้งในถนนปกติและทางออฟโรดได้มั่นใจทุกเส้นทาง โดย BFGoodrich มียางรถยนต์ที่น่าสนใจดังนี้
- BFGoodrich All-Terrain T/A KO3 ยาง A/T ผู้มาสืบทอดตำนานยางออลเทอเรน โดดเด่นด้านการขับบนถนนปกติ ระยะเบรกสั้นลง เกาะถนนมั่นใจ แถมการลุยทางออฟโรดยังถูกอัปเกรดให้ทำได้ดียิ่งกว่าเดิม
- BFGoodrich All-Terrain T/A KO2 หนึ่งในยาง A/T รุ่นยอดนิยมของคนไทย จัดเต็มเรื่องการลุยทางปกติและทางออฟโรด ดอกยางแข็งแกร่ง ใช้ได้ยาวนาน และให้ประสิทธิภาพในการขับขี่และการลุยป่าได้ดี
- BFGoodrich Mud-Terrain T/A KM3 ยางออฟโรดแบบ M/T ที่เปลี่ยนให้การลุยป่าเป็นเรื่องง่ายกว่าที่เคย ไม่ว่าจะปีนก้อนหิน ลงหล่มโคลน หรือตะกุยเนินทราย ก็ทำได้มั่นใจในทุกสภาพอากาศ
- BFGoodrich G-Force Phenom T/A ควบคุมรถได้เฉียบคมและมั่นใจทั้งในทางตรงและทางโค้ง ด้วยยางที่ออกแบบมาเพื่อรถเก๋งหรือรถสมรรถนะสูง เพื่อสัมผัสถึงความสนุกได้ในทุกเส้นทาง
- BFGoodrich Trail-Terrain T/A ตอบโจทย์การขับขี่บนถนนปกติทั้งทางเปียกและแห้งได้มั่นใจยิ่งขึ้น แต่ได้ภาพลักษณ์สุดเท่แถมดุดันไม่แพ้ยาง A/T เพื่อให้ได้ความมั่นใจและปลอดภัยทุกเส้นทาง
- BFGoodrich Advantage Touring ยางนุ่มเงียบให้ความสบายสำหรับรถเก๋ง ครอสโอเวอร์ และเอสยูวี ที่ยึดเกาะถนนได้ดีทุกสภาพอากาศ และให้การบังคับควบคุมได้ดั่งใจ